เบื้องหลังการพากย์โฆษณา “เบญจา ชิคเค้น” ภาษาจีน

จุดเริ่มต้นของโปรเจคนี้คือ ทาง CP เจ้าของแบรนด์ เบญจา ชิคเค้น ต้องการเอาโฆษณาเวอร์ชั่นไทย ที่มีคุณโอปอล์ หมอโอ็ค น้องอลิน น้องอลัน เป็นพรีเซนเตอร์มาพากย์เป็นภาษาจีนซึ่งมีทั้งหมด 5 เวอร์ชั่น

VOICE HUB รับหน้าที่ตั้งแต่แปลบทภาษาจีน โดยเราได้ทางคนจีนที่เชี่ยวชาญทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มาทำการแปลบทให้เพื่อให้ได้อรรถรสมากที่สุด

บรรยากาศวันเข้าห้องอัด นักพากย์ชาวจีนของเรา ต้องลองซ้อมพากย์เสียงเพื่อให้ตรงกับปากของต้นฉบับ เพราะภาษาไทยและภาษาจีน (รวมถึงภาษาอื่นๆ) จะมีการออกเสียงความสั้นยาวไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือคำว่า โต๊ะ ในภาษาไทย ออกเสียงพยางค์เดียว ในภาษาอังกฤษ ออกเสียงว่า table เทเบิ้ล สองพยางค์

 

นักพากย์ชาวจีนของเรา ก็ต้องช่วยปรับบทอีกครั้งก่อนการอัดจริง  เพื่อให้ตรงกับปากต้นฉบับ

และตอนพากย์เสียงก็ไม่ต่างกับการพากย์หนังเลย เพราะต้องคีฟคาแรคเตอร์คุณโอปอล์ให้อออกมาเหมือนที่สุด ซึ่งต้องใช้ความสามารถ ทักษะการแสดง การใช้เสียงไปพร้อมๆกัน

เบื้องหลังการทำงาน ลงเสียงภาษารัสเซีย

สำหรับงานในวันนี้เป็นการลงเสียงประกอบ VDO ภาษารัสเซีย เกี่ยวกับคำแนะนำขั้นตอนการใช้เครื่องมือในสนามบินค่ะ

โจทย์ของลูกค้าคือออยากได้ announcer มืออาชีพ เจ้าของภาษา เราจึงได้ส่งเสียงคุณออลก้าไปให้ลูกค้า ซึ่งเธอเป็นทั้ง voice over artist , นักแสดง , นางแบบ ความสามารถรอบด้านเลยทีเดียว


พอคุณออลก้ามาถึง เราก็ให้เธอลองฟัง reference เสียงที่ลูกค้าต้องการซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เสียงนุ่มนวล อ่อนหวาน คุณออลก้าฟังปุ๊ปก็สามารถทำออกมาได้ตรงตาม reference ที่ลูกค้าต้องการ


แต่คุณออลก้าและทาง voice hub ก็มีคำแนะนำเพิ่มเติมให้ลูกค้าว่า Stress เสียง หรือวิธีการลงเสียงหนักเบาของแต่ละภาษาจะแตกต่างกัน ธรรมชาติภาษารัสเซียจะมีเสียงที่หนักแน่น เข้มแข็ง และธรรมชาติของคนรัสเซียที่ขึ้นชื่อว่า “ยิ้มยาก”

 

 

ถึงแม้จะเป็นเสียงประกาศในสนามบิน ก็ยังมีความหนักแน่นอยู่มากพอสมควร ต่างจากภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
เราจึงลงเสียงเป็นแบบ Russian style ให้ลูกค้าอีก 2 เวอร์ชั่น เผื่อใช้งานค่ะ
สำหรับวันนี้เป็นการทำงานที่สนุกและได้แชร์ประสบการณ์ของคนแต่ละเชื้อชาติที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็ร่วมกันทำงานออกมาได้เป็นอย่างดีเลยละค่ะ

อยากเป็นนักลงเสียง จะเริ่มยังไงดี ?

ถ้าพูดถึงอาชีพที่เกี่ยวกับเสียงที่คนส่วนใหญ่คุ้นชินก็คงจะเป็น อาชีพดีเจ นักพากย์หนัง พากย์ซีรีย์ แต่ยังมีอาชีพในการใช้เสียงอีกหมวดหมู่หนึ่ง นั้นคือการให้เสียงในงานพรีเซนเทชั่น โมชั่นกราฟฟิก ให้เสียงโฆษณาในวิทยุ ทีวี ยูทูป หรือแม้แต่เดินในห้างคุณก็ยังได้ยินเสียงเหล่านี้
บางคนนิยามอาชีพนี้ว่า announcer หรือบางคนอาจบอกว่าเป็น voice over talent หรือบางคนจะเรียกง่ายๆว่า คนลงเสียง
หลายคนสนใจอยากทำอาชีพนี้ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง จะเริ่มฝึกจากตรงไหน วันนี้แอดมินขอมาแชร์ประสบการณ์ เทคนิคง่ายๆ 4 step ของแอดมินเอง เผื่อเพื่อนๆที่สนใจงานด้านนี้ได้ลองเอาไปฝึกฝนกันค่ะ

1. อ่านให้ชัด เว้นวรรคให้ถูก
หลายเห็นอาจจะบอก “ง่ายๆ อ่านภาษาไทยมาทั้งชีวิต แค่นี้สบายๆ” แต่เชื่อไหมว่าจากประสบการณ์การทำงาน คนไทยส่วนใหญ่อ่านออกเสียงไม่ชัด ยกตัวอย่างง่ายๆ ร เรือ ล ลิง คำควบกล้ำ วรรณยุกต์ พูดรวบคำ พูดไม่เต็มเสียง หรือติดสำเนียงท้องถิ่น “ก็พูดไทยมาตลอดชีวิตไม่เห็นเคยมีใครทักเลยว่าพูดไม่ชัด” บางคนอาจจะแย้งแบบนี้ นั้นเป็นเพราะว่า เราไม่เคยได้กลับมานั่งฟังสิ่งที่ตัวเองพูดออกไปนั้นเอง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราพูดชัดหรือเปล่า ?

ให้ลองหาหนังสือ หรือบทความอะไรก็ได้ มาอ่านออกเสียง แล้วก็อัดเสียงสิ่งที่ตัวเองอ่านไปทั้งหมด เอากลับมาฟัง “แล้วถ้าไม่มีไมค์ จะอัดเสียงยังไง” ก็โปรแกรมอัดเสียงในสมาร์ทของเรานั้นไง ช่วยได้

พอเราอ่านออกเสียง แล้วเอากลับมาฟังอย่างตั้งใจ เราจะได้เห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง คำไหนที่ควบกล้ำไม่ชัด เสียงเหิน ร เรือ ล ลิงไม่ชัด เราก็ค่อยฝึกฝน ปรับปรุงจนการออกเสียงเราชัดถ้อยชัดคำและชัดเจน
ฝึกเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง

เมื่อเราอ่านได้ถูกต้องชัดเจนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ เราต้องรู้จักแบ่งวรรคตอนให้ถูก หลายคนคงเคยได้ยินมุก แบ่งวรรคตอนผิด ชีวิตเปลี่ยนกันมาบ้าง เช่น ขอให้แข็ง แรงไม่มี โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน แทนที่จะเป็นคำอวยพร กลายเป็นคำแช่งไปซะงั้น เพราะฉะนั้นวิชาภาษาไทยที่ครูเคยสอนมา งัดมาฝึกฝนและใช้ให้เป็นประโยชน์ค่า

2. ตีความหมาย
เมื่อเราอ่านออกเสียงได้ชัดเจน แบ่งวรรคตอนได้ถูกต้องแล้ว คราวนี้เรามาดูความหมาย ตีความ Script ว่าเป็นเรื่องแนวไหน สนุก จริงจัง เศร้า คำไหนที่ควรเน้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าเป็นสินค้าแอร์ บทเขียนมาว่า “ให้ความรู้สึกเย็นสบาย” เพราะฉะนั้นคำที่เราควรเน้นคือ เย็นสบาย ดีไซน์เสียงให้คนดูรู้สึกถึงความเย็นสบายผ่านน้ำเสียงของเราให้ได้ อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝน

3. เติมอารมณ์ลงไปในเสียง
เมื่อเราตีความ script แล้ว สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือ เติมอารมณ์ลงไปในเสียง ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้จินตนาการส่วนบุคคลนะคะ ซึ่งอารมณ์ของน้ำเสียงมีความสำคัญมากๆ แม้จะเป็นคำเดียวกัน แต่พูดด้วยน้ำเสียงหรืออารมณ์ที่ต่างกัน ความรู้สึกของคนฟังจะเปลี่ยนไปทันที
ยกตัวอย่าง เช่น แฟนโทรมาถามว่า “กลับกี่โมง” แล้วพูดด้วยเสียงดังแบบห้วนๆ เราก็จะรู้สึกหงุดหงิด เหมือนโดนตามจิกกลับบ้านแน่ๆ
แต่ถ้าในทางกลับกัน เสียงของแฟนเป็นเสียงนุ่มๆ อ้อนๆ ถามว่า “กลับบ้านกี่โมง” เราจะรู้สึกว่าเค้าถามด้วยความคิดถึง เป็นห่วง ทำให้อยากกลับบ้านไวๆ
นี่คืออิทธิพลของน้ำเสียง เพราะฉะนั้นฝึกใช้น้ำเสียงให้ตรงกับ Script หรือตรงตามบรีฟ

4. ค้นหาสไตล์ของตัวเองให้เจอ
ทุกคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง หาสไตล์ ความถนัดของตัวเองให้เจอ ในงานลงเสียงเราอาจจะมีหลายคาแรคเตอร์ ฝึกฝนค้นหาความถนัดของตัวเองให้เจอ แล้วสร้างมันเป็นสไตล์ของเราค่ะ

 

เป็น 4 ข้อที่ทุกคนสามารถนำไปฝึกฝนตัวเองได้ง่ายๆ จากประสบการณ์จริงของแอดมินนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจงานด้านนี้นะคะ อยากจะแชร์เรื่องราว พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สอบถามข้อมูลต่างๆ ก็ IB เข้ามาพูดคุยกันได้ค่ะ

ขั้นตอนการทำงานของ Voicehub

ขั้นตอนการทำงาน

เลือกเสียงที่คุณต้องการจากเวปไซต์ของเรา
แจ้งรายละเอียดเสียงที่คุณต้องการผ่านช่องทางต่างๆของเรา ที่คุณสะดวก พร้อมส่ง Script และความต้องการพิเศษของคุณมาหาเรา
– เราจะประเมินราคา และแจ้งระยะเวลาด าเนินการกลับไป
– เมื่อคุณตกลงว่าจ้าง คุณโอนมัดจำล่วงหน้า 50% มาที่เรา
– เราจะทำการบันทึกเสียงตามความต้องการของคุณ
– เราจัดส่งไฟล์เสียงให้คุณทางอีเมล์
– คุณโอนค่าจ้างส่วนที่เหลืออีก 50 % มาให้เราภายใน 3 วัน

Voice-over talent agency in Thailand

Voice Hub international เราคือ Voice-over talent agency ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เราให้บริการด้านลงเสียงในงานสื่อทุกรูปแบบ เรามีทีมงานมืออาชีพ เรามีเสียงให้ท่านเลือกมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์งานของคุณให้สมบูรณ์แบบ Voice Hub international ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำของไทย และต่างประเทศ เลือกใช้บริการของเรา